ประวัติความเป็นมา

   

        จากการปฏิรูปการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย  ได้เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของทุกฝ่ายในสังคมไทยโดยปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  ที่มุ่งหวังยกระดับการศึกษาของชาติให้มีมาตรฐาน   และจัดได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  โดยกำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบและจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ได้หลอมรวมหน่วยงานทางการศึกษาคือทบวงมหาวิทยาลัย  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานเดียวกันคือกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดโครงสร้างใหญ่ เป็นระดับกระทรวงและระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้น

          

           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เกิดจากการที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดว่าการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษาแห่งชาติ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา  ได้ลงนามประกาศจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จำนวน 175 เขต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 และมีการจัดตั้งใหม่เพิ่มเติมในภายหลัง รวมปัจจุบันทั้งหมด  185  เขต ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สำมารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู  ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต  4  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  7  กรกฎาคม  2546  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ. ศ. 2546 มาตรา 36 และ 37 เพื่อให้การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษาบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ 30  ตุลาคม  2545  โดยกำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 175 เขต และจังหวัดบุรีรัมย์แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาเป็น 4 เขต  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ประกอบด้วยสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การปกครอง 6 อำเภอ ดังนี้  

          1) อำเภอสตึก

           2) อำเภอแคนดง

           3) อำเภอคูเมือง

           4) อำเภอพุทไธสง

           5)  อำเภอนาโพธิ์

           6) อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ 

 

                

 

        สถานที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในครั้งแรก ตั้งอยู่ทีโรงเรียนพุทไธสง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์   มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 208 โรงและ 1 สำขา

 

       ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 ได้ย้ายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตั้ง ณ โรงเรียนตงศิริราษฏร์อนุสรณ์  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากสถานที่เดิม 1.5 กิโลเมตร   อาคารสำนักงาน เป็นอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 ได้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพุทธศักราช 2546   ดังต่อไปนี้

           1) กลุ่มอำนวยการ

           2) กลุ่มบริหารงานบุคคล

           3) กลุ่มนโยบายและแผน

           4) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

           5) กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน

           6) กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

           7) หน่วยตรวจสอบภายใน

 

        

            ต่อมาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ได้แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 นถึงปัจจุบัน 

 

        วันที่ 14 กันยายน 2553 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการภายใน  ส่วนโรงเรียนที่เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (กรมสามัญศึกษาเดิม) จำนวน 16 โรง ได้ย้ายไปสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (จังหวัดบุรีรัมย์) ปัจจุบันเหลือจำนวน 193 โรง และ 1 สาขา ใน 6 อำเภอ

 

 

           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4  ได้จัดตั้งศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center)  เพื่อให้บริการโรงเรียนในสังกัด อำเภอสตึกและอำเภอแคนดง ตลอดจนอำเภอและโรงเรียนใกล้เคียง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551   ได้มีพิธีเปิดศูนย์บริการอย่างเป็นทางการ ตั้งอยู่ที่อาคาร 2 (ทิศตะวันออก) โรงเรียนสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ [ภาพกิจกรรมพิธีเปิดศูนย์บริการ โรงเรียนสตึก]**  และได้ย้ายที่ตั้งจากโรงเรียนสตึก มาอยู่ที่ อาคารศูนย์  วิทยบูรณาการ โรงเรียนอนุบาลสตึก (ประชาอนุสรณ์) ระหว่างวันที่  28 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 

 

 

          ต่อมาเทศบาลตำบลสตึก ได้ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราชพัสดุ ถนนประชาจัดสรร ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ 1 ไร่ ได้แลกเปลี่ยนกับพื้นที่ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอสตึก ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ครบรอบ 9 ปี  การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ย้ายสำนักงานฯ มาไว้ ณ ที่ปัจจุบัน โดยมติของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ได้เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อ เป็น ศูนย์บริการการศึกษา (Educational Service Center) ขึ้นตรงต่อกลุ่มอำนวยการ จนถึงปัจจุบัน [พิธีเปิดศูนย์บบริการการศึกษา]**

         

           ต่อมาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  วันที่ 22 พฤศจิกายน  2560 ได้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2560  โดยเพิ่มเติม กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เพิ่มกลุ่มกฏหมายและคดี ตามลำดับ

 

 

ผู้เขียน/รวบรวม :  ดร.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์

เอกสารอ้างอิง  :


สพท.บุรีรัมย์ เขต 4.  2551.  รายงานการวิจัย การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Sevice) สพท.บุรีรัมย์ เขต 4. บุรีรัมย์ : เอกสารเผยแพร่ สพท.บุรีรัมย์ เขต 4.

สพป.บุรีรัมย์ เขต 4.  2563. แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 

           ปีงบประมาณ 2563.  บุรีรัมย์ :  เอกสารเผยแพร่ สพป.บุรีรัมย์ เขต  4

 ภาพถ่าย คอมพิวเตอร์กราฟิก :  ดร.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์
 

       

   
         

 

Go to top

 

รับผิดชอบงานในหน้าที่ บริการดีเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำเทคโนโลยี บริหารดีตามหลักธรรมาภิบาล

 Owner : Buriram Primary Educational Service Area Office 4

Basic Education Commission Office, Ministry of Education, Thailand
Location: Tongsirirajanusorn School , Puttisong District, Buriram Province, Thailand, Postcode 31120
E-mail : brmarea4@gmail.com Tel. 044-689445 FAX. 044-689095
Copyright@2013 by ICT Teacher Club, All rights Reserved